วันเสาร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2561

โอกาสทางธุรกิจสินค้าฮาลาลในประเทศจีน




ชาวมุสลิมทั่วโลกอยู่กว่า 2,000 ล้านคนในกว่า 110 ประเทศ และประเมินว่า ตลาดสินค้าอาหารฮาลาลมีมูลค่าปีละ 547,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็น 12 % ของมูลค่าการค้าสินค้าเกษตรกรรมของโลก ตลาดดังกล่าวยังคงมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่สูงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ประเมินว่า ตลาดสินค้าอาหารฮาลาลจะมีมูลค่ากว่า 550,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2553 นอกจากนี้ ผลจากการขยายตัวของจำนวนประชากรโลกที่นับถือศาสนาอิสลามผู้เชี่ยวชาญด้านประชากรศาสตร์คาดว่าชาวมุสลิมจะคิดเป็นสัดส่วน30 % ของจำนวนประชากรโลก ซึ่งนั่นหมายถึงตลาดสินค้าอาหารฮาลาลขนาดมหึมาที่รออยู่

ในประเทศจีน คาดว่ามีจำนวนชาวมุสลิมอยู่ประมาณ 35 ล้านคนในปัจจุบัน คิดเป็น 2.3 % ของจำนวนประชากรโดยรวม
ทั้งนี้ ชาวมุสลิมในจีนส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ด้านตอนในและซีกตะวันตกของประเทศ อาทิ มณฑลหนิงเซียะ มณฑลกานซู่
เขตปกครองอิสระมองโกเลียใน และเขตปกครองอิสระซินเจียง และกระจายตัวไปตามเมืองใหญ่ต่าง ๆ เวลาเราเดินทางที่มณฑลเหล่านี้จะเห็นร้านอาหารฮาลาลเยอะมาก

อัตราการขยายตัวของจำนวนประชากร (เนื่องจากชาวจีนมุสลิมได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามนโยบายลูกคนเดียว(One-Child Policy) ของรัฐบาลจีนที่กำหนดใช้ถึง 30 ปีนับแต่เปิดประเทศ) และความมั่งคั่งของชาวมุสลิมในจีน ทำให้ตลาดสินค้าฮาลาลกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ภาครัฐและเอกชนของหลายประเทศ อาทิ มาเลเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ อิหร่าน ตุรกี อียิปต์ และบราซิล จึงต่างหันมาให้ความสนใจในการพัฒนาและส่งเสริมความร่วมมือด้านการผลิตและทำตลาดสินค้าอาหารฮาลาลในจีนกันมากขึ้น

ในขณะเดียวกันรัฐบาลและผู้ประกอบการของจีนเองก็ให้ความสำคัญอย่างมากกับตลาดอาหารฮาลาลทั้งในและต่างประเทศ เฉพาะในมณฑลหนิงเซียะ คาดว่ามีผู้ผลิตสินค้าอาหารฮาลาลจำนวนมากกว่า 10,000 รายในปัจจุบัน ครองสัดส่วนการตลาดในมณฑลถึง 80 % ของตลาดทั้งหมด ผู้ประกอบการของจีนที่เริ่มปีกกล้าขาแข็งแล้วต่างได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐให้โบยบินออกไปบุกตลาดต่างประเทศกันมากขึ้น

ช่องทางการจำหน่ายบน modern Trade  ในจีน อาทิ คาร์ฟูร์ และวอล-มาร์ต ต่างก็เริ่มนำเอาสินค้าที่ติดฉลาก
รับรองสินค้าฮาลาลขึ้นจำหน่ายอย่างแพร่หลายมากขึ้น เหมือนในยุโรปและสหรัฐฯ กันแล้วนั่นหมายความว่า ในมิติหนึ่ง อุปสงค์สินค้าอาหารฮาลาลในจีนกำลังขยายตัว และในอีกด้านหนึ่ง ก็พบว่า อุปทานทั้งจากภายในและต่างประเทศกำลังถาโถมเข้าจีนมากขึ้นเช่นกัน ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการของจีนบางส่วนก็ทยอยออกไปขยายตลาดอาหารฮาลาลในตลาดโลกกันมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลเชิงลบต่อตลาดสินค้าฮาลาลที่ไทยเคยจับอยู่

การรับรองมาตรฐานอาหารฮาลาลสากลของจีนนั้นกระทำได้ค่อนข้างลำบาก ปัจจุบันมีบางมณฑลในจีนนั้นมีการบังคับใช้ข้อกำหนด การรับรองมาตรฐานอาหารฮาลาล แต่อยู่ในลักษณะของต่างคนต่างทำ ยังไม่มีความเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน ในการส่งออกอาหารฮาลาลของจีนนั้นยังจะต้องผ่านหน่วยงานควบคุมอาหารฮาลาลของ ต่างประเทศ มีเพียงบางแห่งเท่านั้นที่ได้รับหนังสือมาตรฐาน H A L A L จากความร่วมมือของกรมปศุสัตว์และกรมศาสนาของมาเลเซีย แต่ยังไม่มีหน่วยงานใดที่ผ่านระบบ H A L A L-H A C C P-G MP รวมทั้งระบบ ISO 9000  ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การจำหน่ายอาหารฮาลาลสู่ตลาดโลกและภายในประเทศจีนขาดความคล่องตัวในการจำหน่ายแต่ละครั้งจะต้องผ่านการขออนุมัติหลายขั้นตอน แต่ถ้าหากเข้าไปในตลาดได้แล้วถือว่าได้ตลาดใหญ่จากจีนอีกช่องทางหนึ่ง  ปัจจุบันคนจีนเริ่มนิยมซื้อสินค้าที่มีฮาลาลด้วยเช่นกัน เพราะคนจีนคิดว่าอาหารฮาลาลนั้นมีคุณภาพปลอดภัย โดยปกติแล้วชาวจีนก็นิยมสินค้าไทยและราคาไม่แพงจึงทำให้มีโอกาสทางตลาดจีนนี้เพิ่มขึ้น สินค้าไทย sme ขนาดเล็กควรให้ความสำคัญฮาลาลให้มากขึ้นเพื่อการขยายตลาดไปยังต่างประเทศที่มีกำลังเงินในการซื้อสูง

วันอาทิตย์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2560

การแบ่งระดับตลาดและแหล่งจำหน่ายสินค้า

การแบ่งระดับตลาดสินค้า



              การแบ่งระดับตลาดในประเทศ จะมีการแบ่งตลาดโดยอ้างอิงจากราคาและคุณภาพสินค้า เจ้าของสินค้าต้องวิเคราะห์ว่าแบรนด์สินค้าของเรานั้นจะเลือกเข้าตลาดกลุ่มสินค้ากลุ่มไหม คุณภาพสูงไหม ราคาแพงไหม แต่ถ้าเราเลือกเข้ากลุ่มสินค้าตลาดล่าง ราคาถูก คุณภาพต่ำก็ต้องมาดูว่าเราสามารถแข่งขันในกลุ่มตลาดนี้ได้ไหม เพราะถ้าหากเราไม่ใช่เจ้าของโรงงานที่สามารถผลิตเองได้ เราต้องจ้างเค้าผลิตก็ต้องมีค่าจ้างผลิต ค่าอื่นๆ ที่เป็นต้นทุน พอบวกต้นทุนต่างๆและราคาที่จะขายก็ต้องถูกเพราะเราเลือกกลุ่มสินค้าตลาดล่าง กำไรที่จะได้จากสินค้าเราจะเหลือสักกี่บาทเชียว และถ้าโรงงานมีแบรนด์ของตัวเอง เราไม่สามารถแข่งขันราคากับเค้าได้เลยเพราะทางโรงงานไม่มีค่าใช้จ่ายในส่วนค่าจ้างผลิต ดังนั้นหากจับกลุ่มตลาดสินค้าราคาแพง ทุกอย่างต้องดูดีตั้งแต่แพคเกจ คุณภาพสินค้าเพื่อให้เหมาะสมกับราคา

แหล่งจำหน่ายสินค้า
              แหล่งจำหน่ายสินค้าราคาถูกและราคาแพงก็แตกต่างกัน โดยปกติแล้วสินค้าเครื่องสำอางค์ราคาถูกส่วนใหญ่จะขายกันอยู่ที่ตามตลาดนัด หรือร้านค้าเครื่องสำอางค์ที่ไม่ได้อยู่ในห้าง ส่วนสินค้าที่มีราคาแพงมักจะขายอยู่บนห้างซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านเครื่องสำอางค์ เช่น วัตสัน บูท เป็นต้น เพราะกลุ่มคนที่เดินจับจ่ายซื้อของนั้นแตกต่างกัน



วันพฤหัสบดีที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2560

โอกาสและอุปสรรคกลุ่มสินค้าเครื่องสำอางค์

วิเคราะห์สภาวะการแข่งขันเครื่องสำอางค์ในตลาด

เราลองมาวิเคราะห์การแข่งขันเครื่องสำอางค์ในตลาดกันดีกว่าว่าส่วนใหญ่ผู้บริโภคจะซื้อเครื่องสำอางค์สักชิ้นใช้เหตุผลตัวไหนบ้างในการตัดสินใจซื้อ



1. เครื่องสำอางค์แบรนด์เนม ที่เป็นที่รู้จักกันอยู่แล้วทั้งแบรนด์จากยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลีและไทย หรือแบรนด์ที่มีคนแนะนำให้ใช้จะปฏิเสธไม่ได้ว่าเครื่องสำอางค์ที่มีราคาสูงผู้บริโภคก็จะต้องเลือกแบรนด์ที่มีความปลอดภัยน่าเชื่อถือ และคิดว่าฉันใช้แล้วหน้าฉันจะพังไหม

2. สินค้าดี มีความโดดเด่น โดนใจผู้ซื้อ บางคนที่ทำสินค้าเครื่องสำอางค์ออกมามักจะตอบว่าสินค้าของฉันดีมีคุณภาพ แต่เมื่อถามกลับไปว่าแล้วจุดเด่นของสินค้าที่ทำให้คนตัดสินใจเลือกแบรนด์ของคุณเพราะอะไร? แล้วสินค้าแบรนด์ดังจากต่างประเทศไม่เหมือนกับของคุณยังไง และบรรจุภัณฑ์ที่ใช้มีความโดดเด่นให้ผู้ซื้อหันมามองหรืออยากจะลองตั้งแต่ครั้งแรกที่เห็นไหมเหมือนกับที่ผู้หญิงจะปิ๊งผู้ชายอันดับแรกก็ดูจากภายนอกว่าดูดีและดึงดูดให้สนใจไหม

3. ราคา เหมาะสมกับสินค้าไม่แพงจนเกินไป เป็นอีกเหตุผลหนึ่งในการตัดสินใจซื้อหากเป็นสินค้าแบรนด์ที่ไม่รู้จักแต่แพงมากกกก (เสียงสูง) และแพงพอๆกว่าแบรนด์ดังๆอีกแพคเกจก็ใช่ว่าจะดูหรูเลิศ ดังนั้นในการตั้งราคาสินค้าควรจะศึกษาดูตลาดว่าสินค้าแบรนด์ต่างๆ ในท้องตลาดเค้าขายกันกี่บาท เดินดูแบรนด์ที่เติบโตในพวกซุปเปอร์หรือร้านจำหน่ายเครื่องสำอางค์ ไม่ใช่ดูจากขายออนไลน์เพียงอย่างเดียว

4. โปรโมชั่น ดึงดูดให้เกิดการซื้อซ้ำและได้ลูกค้าใหม่ เมื่อทำสินค้าสักตัวออกมาขายก็จะต้องคิดถึงเรื่องทำโปรโมชั่นว่าหากลูกค้าซื้อสินค้าแล้วจะได้อะไร และอยากที่จะได้มากถึงทำให้ต้องซื้อสินค้าของเราเพื่อเป็นแรงดึงดูดว่าผู้ซื้ออยากจะได้ของแถมโปรโมชั่นถึงซื้อสินค้าคุณ เพื่อเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น เช่น สินค้าแป้งสำหรับเด็กแถมของเล่นหรือตุ๊กตา เด็กที่อยากจะได้ก็ต้องขอพ่อแม่ว่าอยากได้แป้งยี่ห้อนี้

5. การตลาด ใช้คนดังหรือสือ Online Marketing เพื่อช่วยในการโฆษณาสินค้าแบรนด์ของเราให้เป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น เพราะปัจจุบันเป็นสังคมแห่งการก้มหน้าไปที่ไหนก็เห็นแต่คนเล่นมือถือ เล่นเฟส เล่นไลน์และสร้าง content โดดๆ บนออนไลน์เพื่อให้คนจดจำแบรนด์สินค้าของเรา โดยส่วนใหญ่ต่างประเทศเค้านิยมใช้ออนไลน์เป็นช่องทางในการโฆษณาแบรนด์สินค้าแต่ประเทศไทยนิยมนำมาใช้ขายของออนไลน์มากกว่า

6. แหล่งจำหน่าย มีหน้าร้าน สร้างโอกาสการขาย ปัจจุบันส่วนใหญ่นิยมทำสินค้าออกมาเพื่อเน้นขายออนไลน์ คุณคิดไหมว่าสินค้าที่ผลิตออกมาแต่ละครั้งถ้าขายออนไลน์ไม่หมดสินค้าที่เหลือจะทำยังไงเคยคิดหาช่องทางการขายทางด้านอื่นกันบ้างไหม เช่น ร้านขายส่งเครื่องสำอางค์ ห้างซุปเปอร์ต่างๆ หรือแม้กระทั่งส่งออกไปต่างประเทศ ดังนั้นเมื่อมีสินค้าแบรนด์ของตัวเองออกมาแล้วควรที่จะหาช่องทางการขายเพิ่มไม่ใช่ขายแต่ออนไลน์อย่างเดียว

7. บริการ ระหว่างและหลังการขาย เราควรจะมีการติดตามสอบถามผู้บริโภคว่าใช้สินค้าแล้วเป็นยังไงบ้าง มีปัญหาอะไรให้ช่วยไหม เป็นการใส่ใจกับลูกค้าเพื่อให้ลูกค้าเกิดความประทับใจบริการหลังการขาย

อุปสรรคเครื่องสำอางค์ "ในไทย"

สินค้าแบรนด์ไทยฝั่งขวา

สินค้าเครื่องสำอางค์แบรนด์ไทยส่วนใหญ่ทำออกมาขายจะไม่คำนึงถึงในเรื่องของแพคเกจและฉลากให้ดูดึงดูดผู้บริโภค อย่างแบรนด์ที่มาจากต่างประเทศให้ความใส่ตั้งแต่แพคเกจ ฉลากและความโดดเด่นจุดขายของสินค้า นี่คืออุปสรรคอย่างหนึ่งของเครื่อสำอางค์ไทย ในเรื่องของแพคเกจหากเราไม่สามารถที่จะหาแพคเกจที่ดูสวยเราก็จะต้องออกแบบฉลากสินค้าให้ดูโดดเด่น โดยปกติคนที่ทำเครื่องสำอางค์ออกมาจะนิยมให้ทางโรงงานผลิตเครื่องสำอางค์และบริษัทผลิตสติกเกอร์หรือกล่องเป็นผู้ออกแบบให้เพราะประหยัด แต่ไม่เข้าใจว่าโรงงานหรือบริษัทผลิตสติกเกอร์เหล่านั้นถนัดในเรื่องไอเดียการออกแบบไหม? ดังนั้นผู้ประกอบการตัวเล็กๆ ที่ผลิตสินค้าเครื่องสำอางค์ออกมาถึงไม่สามารถไปแข่งขันระดับโลกได้

วันพุธที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ส่งออกสินค้า

บรรยายเนื้อหาการส่งออกไม่เน้นวิชาการ ปฎิบัติได้จริงจาก อ.ขวัญ

บรรยายเนื้อหาเกี่ยวกับการส่งออกสินค้าและเริ่มต้นสร้างธุรกิจสินค้าแบรนด์ของตัวเอง โดยผู้บรรยายเป็นวิทยากรที่บรรยายจากประสบการณ์จริง ทำธุรกิจส่งออกสินค้าไปยังหลายๆ ประเทศ ได้ให้ความรู้ในเรื่องของการพัฒนาสินค้าให้มีศักยภาพเพื่อไปแข่งขันในตลาดโลก เน้นการสร้างแบรนด์ โดยอาศัยหลักการตลาดเข้ามาช่วยในเรื่องของการสร้างแบรนด์

บรรยายให้กับผู้ประกอบการเริ่มต้นสร้างสินค้าของตัวเองที่ ม.เกษตร



บรรยายให้กับผู้ประกอบการที่ โคราช

อ.ขวัญได้ให้ความรู้กับผู้ประกอบการโคราชที่เริ่มต้นสร้างสินค้าของตัวเองและพัฒนาสินค้าให้มีศักยภาพไปแข่งในตลาดโลก ซึ่งผู้ประกอบการต่างจังหวัดบางท่านขาดองค์ความรู้ในเรื่องการของ การพัฒนาสินค้า ยังไงให้ดูดีตั้งแต่แพคเกจจิ้งและแนะนำวิธีการส่งออกสินค้ายังไงถึงให้ได้ผล

เริ่มต้นสร้างแบรนด์เครื่องสำอางค์ของตัวเอง

อยากทำแบรนด์สินค้าเครื่องสำอางค์ของตัวเองควรเริ่มยังไงดี?

ตลาดสินค้าเครื่องสำอางค์ในไทยปัจจุบันบางคนนึกอยากจะมีแบรนด์ของตัวเองก็ทำออกมาโดยไม่มีการคิดวิเคราะห์ว่าเราจะทำออกมาขายใคร ขายคนกลุ่มไหนและทำยังไงให้แบรนด์ของตัวเองติดตลาด เพราะคนที่ทำออกมาก็คิดว่าทำออกมาขายออนไลน์ผ่าน facebook, line, instagram เป็นต้น เพราะเห็นเค้าขายกันและบอกว่าฉันทำแล้วรวย แต่ก็มีอีกหลายคนที่ทำแล้วจน ทำไมฉันทำออกมาแล้วทำไมขายไม่ได้ ทำแล้วทำไมไม่เห็นรวยเหมือนเค้าเลย ใครที่อยากจะสร้างแบรนด์สินค้าของตัวเองควรจะต้องเรียนรู้และวิเคราะห์ตลาดให้เป็นเพื่อให้แบรนด์สินค้าของเรานั้นขายได้

คุณจะต้องเข้าใจว่าตลาดเครื่องสำอางค์นั้นแบ่งอยู่ 2 กลุ่มคือ 

1. ตลาดเครื่องสำอางค์เคาน์เตอร์แบรนด์ เช่น ลอรีอัล, มีสทีน, ชิเชโด เป็นต้น
2. ตลาดเครื่องสำอางค์ทั่วไป ซึ่งเป็นแบรนด์ที่เราอาจจะไม่เคยได้เห็นหรือได้ยิน


ตลาดเครื่องสำอางค์มีมูลค่ารวมอยู่ 170,000 ล้านบาท



ส่วนแบ่งของการตลาดเครื่องสำอางค์ จะถูกแบ่งออกมาเป็นเครื่องสำอางค์สำหรับวัยรุ่น, เครื่องสำอางค์สำหรับบุคคลทั่วไป และประเภทเครื่องสำอางค์แบบไหน เช่น เครื่องสำอางค์ประเภท Skin Care, เครื่องสำอางค์ประเภท Make Up ดังนั้นใครที่อยากมีสินค้าเครื่องสำอางค์แบรนด์ของตัวเองจะต้องวิเคราะห์ว่าเราต้องการจับตลาดลูกค้ากลุ่มไหน

วิเคราะห์ส่วนแบ่งทางการตลาดเครื่องสำอางค์

เมื่อเราได้วิเคราะห์แล้วว่าต้องการจับกลุ่มลูกค้าตลาดไหนก็ต้องมาวิเคราะห์เพิ่มเติมว่าเราจะเจาะลูกค้า(ผู้บริโภค)เพศหญิงหรือเพศชาย เพราะปัจจุบันสินค้าทางด้านเครื่องสำอางค์ได้ถูกแบ่งออกมาให้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่าสำหรับผู้หญิง, ผู้ชายและเพศที่ 3 จากนั้นเราก็จะมาดูว่าผู้บริโภคนั้นมีความจำเป็นหรือความต้องการใช้สินค้าอะไร

สินค้าแต่ละเพศที่นิยมใช้


เดี๋ยวเราจะมาวิเคราะห์สภาวะการแข่งขันเครื่องสำอางค์ในตลาดและอุปสรรคเครื่องสำอางค์ในไทย...อย่าลืมติดตามนะค่ะ

วันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

รากฐานการสร้างแบรนด์ เพื่อแบรนด์สู่ตลาดการค้าโลก หลักการและเหตุผล

สร้างแบรนด์อย่าไรให้มั่นคง พัฒนาแบรนด์สินค้า OTOP ให้สู่ตลาดการค้าโลก วิเคราะห์สร้างแบรนด์สินค้าให้หลุดจากคำว่า "OTOP"






หลักการและเหตุผล
สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตลอดจนการสร้างแบรนด์ และ
ประยุกต์ใช้การตลาด 4.0 (Branding & Marketing 4.0) เพื่อสร้างโอกาสการขายภายในและขยายตลาดสู่ต่างประเทศ จำเป็นต้องทำอย่างไรเพื่อป้องกันอำนาจของแบรนด์สินค้าคู่แข่งขัน และยังเป็นการครองส่วนแบ่งการตลาดให้เหมาะสมกับสินค้า
วัตถุประสงค์ 
สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ความคิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์
องค์ความรู้เกี่ยวกับกลยุทธ์การสร้างและรักษา "แบรนด์” Branding & Marketing 4.0"
สร้างโอกาสการขายภายในและขยายตลาดสู่ต่างประเทศ...


วันอาทิตย์ที่ 26 พฤศจิกายน 2560
สถานที่จัดอบรม มหาวิทยาลัยเกษตร บางเขน อาคาร KU HOME
ราคา 950บาท
อีเมล์:w.sirisuparatchhotmail.com
เบอร์โทรศัพท์ : 088-769-1591
สมัครอบรมผ่าน http://www.seminardd.com/s/47250


วันศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

โฆษณาตรงๆ หรือเทคนิค Content Marketing

จะโฆษณาตรงๆ หรือเทคนิค Content Marketing ดีกว่ากัน

                มันหมดยุคสมัยแล้วที่กลุ่ม SME จะมุ่งสู่วิธีการประชาสัมพันธ์ (ขายสินค้า) เพียงแค่เป้าไปในเรื่องการขายสินค้านั้นๆ เพียงอย่างเดียว ด้วยสภาพการแข่งขันหลากหลายสินค้าจากผู้ประกอบการมากหน้าหลายตา วิธีการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม
                คอนเทนต์มาร์เก็ตติ้ง (Content Marketing) หัวใจหลักของคำๆ นี้ ไม่ได้มุ่งเน้นการขายของที่ตัวสินค้าว่าราคาเท่าไหร่, ซื้อที่ไหน, มีกิจกรรมส่งเสริมการตลาดอย่างไร…. แต่มันคือการดึงคุณประโยชน์ของตัวสินค้าจากรายละเอียดต่างๆ ที่อยู่ในตัวสินค้า นำมาสร้างการรับรู้ให้กลุ่มลูกค้า (ในอนาคต) เพื่อให้กลุ่มลูกค้าเกิดการอยากซื้อ จนกลายเป็นแสวงหาที่จะซื้อ

                รูปแบบของการสร้าง Content Marketing มีหลากหลายประเทศเช่น ข้อความเพียงอย่างเดียว, รูปภาพแบบ Infographic หรือเป็นคลิปวีดีโอแบบ Viral ฯลฯ เมื่อคุณเข้าใจรายละเอียดของ Content Marketing แล้ว สามารถนำงบประมาณ (เงินในกระเป๋า) มาเลือกผลิตหรือรูปแบบลงในสื่อออนไลน์ตลอดจนออฟไลน์ได้ และจะมีโอกาสการขายมากกว่าแค่การโฆษณา
                เพราะการโฆษณามุ่งเน้นในเรื่องของการซื้อขาย, การเห็นจากภาพ และวีดีโอเป็นหลัก เหมาะสมกับธุรกิจหรือแบรนด์สินค้าที่ประสบความสำเร็จแล้ว ดังนั้นหนทางรอดของ SMEss คือการใช้กลยุทธ์ของ Content Marketing เป็นหลักนั่นเอง


การเชื่อมต่อ และลงทุนทางด้านการตลาด
                กลยุทธ์ทางด้านการลงทุนอันเกี่ยวข้องกับการตลาด คือการวางแผนสร้างการรับรู้ตัวสินค้า (Branding) และก่อเกิดการขายได้จริง ยุคก่อนหน้านี้ที่ยังไม่มีสังคมออนไลน์ วิธีการสร้างการรับรู้มุ่งเน้นไปในรูปแบบของสื่อทีวี (สำหรับธุรกิจคนมีเงิน) ในขณะที่ SME ยุคนั้นแทบจะเป็นไปได้ยากหรือไม่มีเลยกับช่องทางการสร้างโฆษณาประชาสัมพันธ์ทำได้กับเม็ดเงินจำกัดคือ “การขายตรง,เทเลเซลล์ หรือการมีออกบูธกิจกรรม”
                สำหรับ Marketing 4.0 ในปัจจุบัน เป็นการเลือกใช้การสื่อสารการตลาดให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพเม็ดเงินในกระเป๋า แต่ยังคงมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ เพื่อให้สินค้าเกิดการขายได้จริง และมีโอกาสเติบโตในตลาด ดังนั้นเราสามารถจัดเรียงลำดับของการลงทุนด้านการตลาดดังนี้
                เรามาทำความเข้าใจง่ายๆ เกี่ยวกับคำพื้นฐานทางด้านการตลาดเพิ่มเติมอีกเล็กน้อย Above The Line คือช่องทางการโฆษณาประชาสัมพันธ์หลักที่ต้องใช้เงินเยอะๆ ในการลงทุนได้แก่ ทีวี,วิทยุ,หนังสือพิมพ์,นิตยสาร เป็นต้น ในขณะที่ Below The Line คือสื่อรอง ใช้เงินในการลงทุนน้อยกว่า แต่ปริมาณการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายก็น้อยตามไปด้วย ได้แก่ อีเมล์,โทรศัพท์ขาย,เดินขายตรงไปยังกลุ่มเป้าหมาย,การออกงานแสดงสินค้า,การออกกิจกรรม,แผ่นผับ หรือสื่อโฆษณาเฉพาะทางเป็นต้น




โอกาสทางธุรกิจสินค้าฮาลาลในประเทศจีน

ชาวมุสลิมทั่วโลกอยู่กว่า 2,000 ล้านคนในกว่า 110 ประเทศ และประเมินว่า ตลาดสินค้าอาหารฮาลาลมีมูลค่าปีละ 547,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิด...